ภาษีขายของออนไลน์ที่ต้องรู้

ภาษีขายของ

นอกจากเรื่องของการค้าขายและการทำธุรกิจหาเงินแล้วนั้น…เรื่องของการ “เสียภาษี” ก็เป็นอะไรที่ทุกๆ ท่านต้องให้ความสำคัญและวางแผนการจ่ายภาษีให้ดีกันนะครับ หากโดนภาษีย้อนหลังกันหล่ะก็…สำหรับผู้ที่มีรายได้เยอะๆ จะทำให้ท่านเสียเงินก้อนโตโดยที่ไม่ทันตั้งตัวแน่ๆ ครับ บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปเตรียมตัวเกี่ยวกับ “ภาษีขายของออนไลน์” เพื่อการเตรียมตัวที่เหมาะสมกันครับ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ภาษี

ภาษี(Tax) คือ  เงินตราหรือทรัพย์ที่ประชาชนต้องนำส่งให้กับรัฐหรือสถาบันที่มีหน้าที่เทียบเท่ากับรัฐทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อนำเงินตราหรือทรัพย์ที่เก็บได้จากประชาชนมาใช้ในการบำรุงผลักดันและสร้างเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งภาษีเหล่านี้จะถูกนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในระบบราชการ สาธารณูปโภคทั้งหมดในประเทศชาติเพราะเป็นรายได้หลักจากรัฐที่จะนำมาพัฒนาให้ประชาชนอยู่กันในประเทศอย่างภาสุข ในความหมายของภาษีเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

1. ภาษีทางตรง คือ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงไม่สามารถผลักภาระไปให้กับบุคคลอื่นอาทิ ภาษีเงินได้บุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น

2. ภาษีทางอ้อม คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีแต่ไม่ต้องรับภาระ สามารถที่จะผลักภาระภาษีนี้ไปให้กับบุคคลอื่น ซึ่งเรามักจะเรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น

โดยภาษีการค้า (business tax) – ภาษีการขายที่เก็บกับสินค้าขั้นสุดท้ายทุกชนิดในอัตราเดียวกันโดยไม่มีข้อยกเว้น เราเรียก ภาษีการขายนั้นว่า อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยมีอัตราเดียว คือร้อยละ 7 จัดเก็บจาก ผู้ประกอบการกิจการสินค้าและบริการทุกประเภท ยกเว้น การขายสินค้า 24  ประเภท ที่ระบุไว้

เกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี

–           คนโสดมีรายได้เกิน 60,000 บาท ต่อปี
–           คนมีคู่สมรส ไม่ว่าจะมีรายได้ฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท

การคำนวณภาษีคิดอย่างไร?

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำการคำนวณภาษี คือ
1. รายได้ รายได้รวมของทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นรายได้หลัก หรือรายได้เสริม
2. ค่าใช้จ่าย ต้นทุนในการทำธุรกิจ และหากเป็นเงินเดือนสามารถหักค่าใช่จ่ายแบบเหมา 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยที่ไม่เกิน 100,000 บาท
3. ค่าลดหย่อน สิทธิในการลดหย่อนต่างๆ
4. อัตราภาษี ซึ่งแบ่งตามช่วงรายได้

ซึงผู้ค้าขายออนไลน์จะแบ่งประเภทการเสียภาษีดังนี้

1. หักค่าใช้จ่ายตามจริง ผู้ค้าออนไลน์ที่มีต้นทุนสูงในการขายสินค้า เหมาะกับการยื่นภาษีแบบหักค่าใช้จ่ายตามจริง เพราะวิธีนี้จะทำให้คนที่มีต้นทุนสูงสามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงด้วย ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายไปแล้ว เงินได้สุทธิที่ต้องนำมาคำนวณภาษีก็จะลดลงตามไป โดยวิธีนี้ต้องจัดเก็บรวบรวม “บัญชีรายรับรายจ่าย” พร้อม “หลักฐาน” ไว้ให้ครบถ้วนเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ และช่วยลดความสับสนเมื่อต้อง ยื่นภาษี

2. หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% เหมาะกับใคร ? ผู้ค้าออนไลน์ที่มีกำไรเยอะ เช่น กำไรที่แท้จริงหักค่าใช้จ่ายแล้วมีมากกว่า 40% หมายความว่าต้นทุนของธุรกิจจะน้อยกว่า 60% ของรายได้ทั้งหมด กรณีนี้แนะนำให้เลือกใช้การยื่นภาษีแบบเหมา ซึ่งข้อดีของการยื่นแบบนี้ คือไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายใดๆ กับกรมสรรพากร และทำให้เราได้ประโยชน์ทางภาษีในส่วนต่างของต้นทุนที่แท้จริง กับค่าใช้จ่ายแบบเหมาเหมาในอัตรา ร้อยละ 60 นั้นเองครับ

ยกตัวอย่าง 5 ค่าลดหย่อนภาษี

1. ลดหย่อนภาษีส่วนตัว ลดหย่อนได้ 60,000 บาททันที โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ

2. ลดหย่อนภาษีคู่สมรส ลดหย่อนได้ 60,000 บาท โดยต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้

3. ลดหย่อนภาษีบุตร ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท เฉพาะบุตรอายุไม่เกิน 20 ปี หรือไม่เกิน 25 ปีและกำลังเรียนอยู่ แต่ในกรณีลูกคนที่ 2 ขึ้นไป และเกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป จะลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

4. ลดหย่อนภาษีบิดามารดา ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท โดยใช้สิทธิ์ซ้ำระหว่างพี่น้องไม่ได้

5. ลดหย่อนภาษีผู้พิการ ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยผู้ลดหย่อนภาษีต้องเป็นผู้ดูแลที่ระบุอยู่ในบัตรคนพิการเท่านั้น

ไม่ยื่นภาษี

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ภาษีขายของออนไลน์ที่ต้องรู้” ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้น คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านกันนะครับ

About the Author

You may also like these