ตำแหน่งงานฝ่ายบุคคลมีหน้าที่และความสำคัญอย่างไรเกี่ยวกับองค์กร

ตำแหน่งงาน

  งาน HR เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากงานหนึ่งในตลาดแรงงานปัจจุบัน ไม่เพียงเป็นตำแหน่งงานที่มีความจำเป็น ต่อการสรรหาบุคลากรของบริษัทเท่านั้น แต่พนักงาน HR ยังมีส่วนช่วยพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย หลายคนคิดว่าฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) นั้นเป็นเสมือนงานเบื้องหลังหรืองานจัดการเอกสารที่ไม่มีความสำคัญอะไรนัก แต่อันที่จริงแล้วงานของฝ่ายนี้มีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมากทีเดียว เพราะทุกองค์กรนั้นล้วนแล้วแต่ขับเคลื่อนด้วยพนักงาน แล้วผู้ที่จะทำหน้าที่คัดสรรตลอดจนดูแลพนักงานขององค์กรนั้นก็คือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ หรือที่เรียกกันง่ายๆ ติดปากว่าฝ่ายบุคคลนั่นเอง วันนี้เรามาทำความรู้จักกับตำแหน่งงานฝ่ายบุคคลให้มากขึ้นกันเลย

งานฝ่ายบุคคล คืออะไร

งานในฝ่ายบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลจะทำหน้าที่คัดเลือก ตรวจสอบ สัมภาษณ์  และจัดสรรกำลังคนตามตำแหน่ง หน้าที่ที่ต้องการ (Recruitment) ต้องมีการวางกลยุทธ์ วางแผนกำลังคน  การสร้างความสัมพันธ์กับทุกฝ่ายในองค์กรให้ทำงานอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด (HR Planning) รวมทั้งการวางกลยุทธ์และออกแบบแผนพัฒนาบุคลากรร่วมกับทุกฝ่ายให้มีศักยภาพสูงสุด (Training & Development)  และรักษาพนักงานที่ดีและเก่งเหล่านั้นให้อยู่กับองค์ได้อย่างยั่งยืนและมีความสุข (Retention) โดยการสร้างความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าในสายอาชีพให้กับพนักงาน (Career Development)  นอกจากนี้ยังรวมถึงการสร้างความสุข แก้ไข ไกล่เกลี่ย และหาทางออกให้กับเรื่องราวปัญหาต่างๆ ในการทำงานของเพื่อนพนักงานด้วย (Employee Relations) เช่น เรื่องหัวหน้า เรื่องเงินเดือน การเติบโตในสายงาน เป็นต้น 

ประเภทของงานฝ่ายบุคคล

  1. วางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล  (HR planning) ทำการวางระบบแบบแผนงานในทุกด้านให้กับฝ่ายบุคคล เช่น การคัดเลือกพนักงาน ดูแลความสัมพันธ์ในองค์กร อบรมปฐมนิเทศพนักงานใหม่และทำงานร่วมกับฝ่ายวางนโยบาย รวมทั้งจัดทำระบบการจัดการและโครงการต่างๆ
  2. คัดเลือกบุคลากร  (Recruitment, Selection & Introduction) ทำหน้าที่จัดหาผู้สมัครงาน คัดสรรและทำการสัมภาษณ์งานในตำแหน่งต่าง ๆ ที่เปิดรับให้กับองค์กร  พวกเขาค้นหาผู้สมัครโดยการประชาสัมพันธ์ในสื่อออนไลน์ เข้าร่วมงานตลาดจัดหางาน (Job Fairs) หรือตามสถาบันการศึกษาต่างๆ
  3. พัฒนาบุคลากร (Training & Development)  ช่วยพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ให้แก่พนักงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยเสริมสร้างทัศนคติให้แก่ตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์กรด้วย โดยอาจเสาะหาผู้เชี่ยวชาญมาจัดอบรมพนักงานในด้านต่างๆ รวมไปถึงการส่งพนักงานไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ด้วย
  4. ระบุและรักษาพนักงานที่โดดเด่นให้ยังอยู่ในองค์กร (Retaining)  การบริหารและโน้มน้าวคนเก่ง เพื่อลดอัตราการลาออกของผู้มีความสามารถในองค์กร ถือเป็นงานที่สำคัญและยากของ HR เลยทีเดียวเพราะองค์กรคาดหวังกับคนเก่งเหล่านั้นที่จะช่วยขับเคลื่อนพัฒนา แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาก็คาดหวังการดูแล ความก้าวหน้า หรือเงื่อนไขที่องค์กรเองก็ต้องยอมแลกมาด้วยเช่นกัน
  5. การประเมินผลงาน (Performance & Reward Management) HR และหัวหน้าฝ่ายต่างๆ ร่วมกันออกแบบและวางแผนการประเมินผลงานของพนักงานทุกคน   เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งวิเคราะห์เพื่อสะท้อนภาพการบริหารผลการปฏิบัติงานของพนักงาน และวางแผนการให้รางวัลพนักงาน
  6. ดูแลกฎระเบียบและความสัมพันธ์ภายในองค์กร (Rules & Regulations) ออกกฎระเบียบและกำกับดูแลด้านระเบียบวินัย  ให้เป็นไปตามกฎหมายแรงงาน จัดทำระเบียบข้อบังคับพนักงาน และสื่อสารให้พนักงานเข้าใจ พร้อมทั้งทำหน้าที่สอบสวนและลงโทษพนักงานหากเกิดการกระทำความผิดขึ้น
  7. งานจัดเก็บข้อมูลพนักงานและงานเอกสารต่าง ๆ (Personnel Administration) HR คือผู้ที่ต้องจัดเก็บฐานข้อมูลพนักงานทั้งประวัติส่วนตัวและการทำงาน เงินเดือน พฤติกรรมการขาดลามาสาย ผลการประเมินต่าง ๆ เป็นต้น

เรียกได้ว่าตำแหน่งงานฝ่ายบุคคลนั้นเป็นแหล่งขับเคลื่อนบุคลากรที่จะช่วยให้งานนั้นสำเร็จมากยิ่งขึ้น ซึ่งในแต่ละองค์จะต้องมีงานฝ่ายบุคคลอย่างแน่นอน เพราะมีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กร ะหากขาดตำแหน่งนี้ไป ก็จะทำให้การทำงานของบริษัทหรือองค์กรเกิดการติดขัด และไม่สามารถเฟ้นหาบุคคลหรือพนักงานดีๆ เก่งๆ เข้ามาทำงานภายในองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

About the Author

You may also like these